สาชาวิชาทันตกรรมบูรณะ

บุคลากร


หลักสูตร


ข่าวประชาสัมพันธ์


ผลงานวิจัยและวิชาการ


ติดต่อสาขาวิชา


สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยวัตถุประสงค์แรกในการก่อตั้ง เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีด้านการบูรณะฟันและการรักษาคลองรากฟัน การให้บริการด้านทันตกรรมในด้านการบูรณะฟันและรักษาคลองรากฟัน รวมทั้งเป็นหน่วยงานและเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้แก่หน่วยงานอื่นโดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือในด้านดังกล่าว ต่อมาใน พ.ศ. 2537 สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะได้ทำการเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่ม 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ และได้ปิดหลักสูตรดังกล่าวใน พ.ศ. 2549 ต่อมาใน พ.ศ. 2552
ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ ได้ทำการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ และใน พ.ศ. 2556 มีการรวมหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 5 สาขาเข้าด้วยกัน เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ ในชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันต-แพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตกรรมบูรณะมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ มีอาจารย์ทั้งสิ้น 14 ท่าน ซึ่งมี รศ.ดร.ทพญ.ปัทมา ชัยเลิศวณิชกุล เป็นหัวหน้าสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ

ความก้าวหน้า-ความภาคภูมิใจ

ก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตกรรมบูรณะ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนควบคู่กันทั้งทางด้านทันตกรรมบูรณะและวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นหลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ในรูปแบบของการสอนบรรยาย การฝึกทักษะด้านการวิจัยและปฏิบัติการ การให้การรักษาผู้ป่วยจริงในคลินิก รวมทั้งการวางแผนการักษาในผู้ป่วยแต่ละราย การสัมมนากลุ่มย่อย การนำเสนอกรณีตัวอย่างของผู้ป่วย ทั้งทางด้านทันตกรรมบูรณะและวิทยาเอ็นโดดอนต์ การนำเสนอผลงาน การทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานในวารสารระดับชาติและนานาชาติ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา ทุนวิจัย การพัฒนานักศึกษา โดยการสนับสนุนการเข้าร่วมฝึกอบรมและการประชุมวิชาการต่างๆ อีกทั้งสาขาวิชาได้ทำข้อตกลง (MOU) กับ University of Western Australia, Australia โดยให้นักศึกษาไปประชุมวิชาการ และเชิญอาจารย์มาบรรยาย ตรวจงานและให้คำปรึกษางานวิทยานิพนธ์

นวัตกรรม-ตำรา

รศ.ดร.ทพญ. ปัทมา ชัยเลิศวณิชกุล และคณะได้รวมกลุ่มทำวิจัยสารสกัดพรอพอลิสไทย (กาวผึ้ง) โดยได้จดอนุสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์พรอพอลิสไทย ในชื่อ “เจลปิดเนื้อเยื่อในฟัน” เมื่อ พ.ศ. 2558 และเขียนหนังสือ “การรักษาความมีชีวิตของฟัน” พ.ศ. 2561